รู้จักและรับมือ โรคฝีดาษลิง

     เมื่อไม่นานมานี้เราคงได้ยินเกี่ยวกับ โรคฝีดาษลิง” (Monkeypox) ซึ่งไม่ใช่โรคใหม่แต่อย่างใด เคยระบาดมาแล้วมากกว่า 20 ปี ปัจจุบันพบการติดเชื้อนี้อีกครั้ง

.

     ทางสำนักงานความมั่นคงด้านสุขภาพแห่งสหราชอาณาจักรพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงรายแรก ซึ่งมีประวัติการเดินทางไปยังประเทศไนจีเรียและติดเชื้อมาจากที่นั่น ก่อนที่จะเดินทางกลับมายังอังกฤษ และยังพบผู้ติดเชื้อใน โปรตุเกส สหรัฐอเมริกา สเปน

.

    ขณะนี้หน่วยงานกำลังเร่งสืบสวนที่มาของการติดเชื้อ เนื่องจากหลักฐานที่มีอยู่ในตอนนี้ บ่งชี้ว่าอาจเริ่มมีการแพร่เชื้อไวรัสดังกล่าวในชุมชนท้องถิ่น ซึ่งประชาชนสามารถติดเชื้อได้ด้วยการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือระหว่างสัตว์กับคน

.

     ทั้งนี้ #ร้านตำรับไทยสมุนไพรไทย ได้สรุปข้อมูล รวมถึงวิธีสังเกตอาการ และการบรรเทาอาการด้วยสมุนไพร เพื่อให้ทุกคนได้รู้จัก และรับมือกับ'โรคฝีดาษลิง'กันค่ะ

      #ฝีดาษ หรือ #ไข้ทรพิษ (Smallpox) เป็นโรคติดเชื้อไวรัส อาการแสดงของผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะมีตุ่มคล้ายฝีขึ้นทั่วร่างกาย มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัวจนทรมาน เกิดจากการติดเชื้อ Variola virus กลุ่ม Orthopoxvirus

 

สาเหตุของการเกิดโรคฝีดาษ

ฝีดาษเกิดจากการติดเชื้อ Variola virus กลุ่ม Orthopoxvirus การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นผ่านระบบทางเดินหายใจ คือ สูดละอองฝอยจากการไอ จาม ของผู้ติดเชื้อ เข้าทางจมูก นอกจากการติดเชื้อผ่านระบบทางเดินหายใจ ยังสามารถติดเชื้อผ่านระบบอื่นๆ อีก ได้แก่

1. ทางผิวหนัง (Skin inoculation) เช่น ใช้มือที่เป็นแผลสัมผัสกับตุ่มบนตัวผู้ติดเชื้อ

.

2. ทางเยื่อบุตา (Conjunctiva) เช่น ใช้มือที่สัมผัสรอยโรคของผู้ติดเชื้อขยี้ตา

.

3. ติดจากแม่สู่ลูกผ่านทางสายรก

-------------------------------------

อาการของโรคฝีดาษ  

เชื้อจะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 7-17 วัน หลังจากนั้นจะก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ดังนี้

- มีไข้สูง

- รู้สึกไม่สบายตัว หนาวสั่น

- ปวดศีรษะ

- อ่อนเพลียอย่างรุนแรง

- ปวดหลังอย่างรุนแรง และอาเจียน

- จากนั้นจะเริ่มมีผื่นสีแดงเรียบขึ้น ต่อมาผื่นสีแดงจะค่อย ๆ นูนขึ้นกลายเป็นตุ่มน้ำและตุ่มหนองตามลำดับ

 

การป้องกันการโรคฝีดาษ

การป้องกันการโรคฝีดาษนั้น ทำได้โดยการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิคุ้มกัน

 

     #โรคฝีดาษลิง เป็นโรคเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งเป็นญาติกับไข้ทรพิษ หรือโรคฝีดาษ (smallpox) ซึ่งโรคไข้ทรพิษหมดไปจากโลกแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 แต่โดยปกติแล้วโรคฝีดาษลิงพบประปรายในบางพื้นที่ของทวีปแอฟฟริกาและมักพบในสัตว์
-------------------------------------------------------------------------
อาการของ 'โรคฝีดาษลิง' คล้ายกับโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ แต่แพร่ระบาดได้ยากกว่า มีอาการรุนแรงน้อยกว่า และทำให้เสียชีวิตได้น้อยกว่า มีอาการป่วยปนกันระหว่างเป็นไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดหลัง หนาวสั่น เหนื่อย และต่อมน้ำเหลืองบวม

 

ถึงแม้ 'โรคฝีดาษลิง' ยังไม่มีวิธีรักษาโดยเฉพาะ และส่วนใหญ่โรคจะหายไปเอง เชื่อกันว่า 'วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ' นั้นมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรคฝีดาษลิงไปด้วย

.

การป้องกันโรคฝีดาษลิง

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยเฉพาะลิง และหนู

2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรงและสิ่งของของผู้ป่วย รวมถึงลมหายใจของผู้ป่วย

3. หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลทำความสะอาดทุกครั้ง หลังสัมผัสสัตว์ หรือสัมผัสสิ่งของสาธารณะ

4. สวมหน้ากากอนามัย เมื่อไปในสถานที่เสี่ยงมีโรคระบาด

5. ถ้าพบผู้ป่วย ให้แยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อออกจากผู้อื่น

------------------------------------------

สมุนไพรที่ช่วยบรรเทาอาการ

กลุ่มแก้ไข้

#ยาห้าราก : ช่วยบรรเทาอาการไข้ กระทุ้งพิษไข้ ไข้พิษ ไข้กาฬ ไข้ออกผื่น

.

#ยาประสะจันทน์แดง : ช่วยบรรเทาอาการไข้ตัวร้อน (ไข้พิษ) แก้ร้อนในกระหายน้ำ

.

#ยาจันทน์ลีลา : บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน

.

ยาใช้ภายนอก

ครีมพญายอ : ถอนพิษไข้ ดับพิษร้อน แก้ผื่นคัน

 

 
ผู้เข้าเยี่ยมชมวันนี้
ผู้เข้าเยี่ยมชมทั้งหมด
           
ติดต่อเรา